ศิษย์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครู |
|
|
|
เขียนโดย Administrator
|
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2014 เวลา 02:31 น. |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ พระองค์มีหมู่คณะมากขึ้นๆ ท่านก็มีความมุ่งหมายที่จะรวมคณะสงฆ์ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่พระเถระผู้ใหญ่ซึ่งมีทิฏฐิมานะอยู่ไม่ยอมลง มันจึงกลายเป็นอีกคณะหนึ่งขึ้นมา ซึ่งคำว่า "คณะธรรมยุต" นี่ พระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายตั้งชื่อให้ ท่านไม่ได้ตั้งของท่านเอง แล้วท่านก็ไม่ได้รังเกียจ "ถ้าสมัครใจจะมาเป็นพรรคเป็นพวกกัน ก็ต้องปฏิบัติอย่างเดียวกัน" เหมือนกับหลวงปู่มั่นท่านเทศน์ในงานศพหลวงปู่เสาร์ ที่วัดบูรพาฯ หลวงปู่มั่นเทศน์ว่า: "เมื่อก่อนท่านอาจารย์เสาร์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอนเรา บัดนี้ท่านมรณภาพไปแล้ว ก็ยังเหลือแต่เราคือพระอาจารย์มั่น จะเป็นครูบาอาจารย์สั่งสอนหมู่คณะ ถ้าใครจะเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ต้องปฏิบัติตามแบบพระอาจารย์มั่น ใครปฏิบัติไม่ได้อย่ามายุ่ง เมื่อเราคืออาจารย์มั่นตายไปแล้ว ก็มองเห็นแต่ท่านอาจารย์สิงห์นั่นแหละพอที่จะเป็นครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอนหมู่ได้" ตอนที่ท่านอาจารย์แดงมาอยู่นี่ ทางคณะสงฆ์ภาคอีสานก็มีแนวโน้มที่จะให้พระสายปริยัติ-ปฏิบัติ ให้มีประโยชน์เกื้อกูลอุดหนุนซึ่งกันและกัน ตอนนั้นท่านอาจารย์สิงห์ยังอยู่ ส่วนหลวงพ่อเป็นพระเพิ่งอายุพรรษาเพียง ๒ พรรษา ก็ถือว่าตัวเองไม่มีสิทธิที่จะพูดเพราะเป็นเด็ก ครูบาอาจารย์ท่านเถียงกันไปเถียงกันมาจะให้ใครเป็นใหญ่ จะให้ใครเป็นหัวหน้า พูดจากันไม่ตกลงกัน พอดีรำคาญท่านเถียงกันมากนัก ก็เลยยกเอาเทศน์ของหลวงปู่มั่นมาพูด พอพูดจบ ท่านอาจารย์ฝั้นก็ว่า นั่น! นั่น! นั่น! นั่น! พอมาถึงตอนนี้แล้ว มันก็ไม่มีอะไรจะพูดกันต่อไปอีกว่าใครจะเป็นหัวหน้ากรรมฐาน ถ้าเราเชื่อท่านอาจารย์มั่น ท่านอาจารย์มั่นท่านก็ตั้งของท่านเอาไว้แล้ว "เมื่อเราตายไปแล้ว ก็มีแต่ท่านสิงห์นั่นแหละพอจะเป็นอาจารย์สอนหมู่สอนคณะได้" ท่านก็ตั้งของท่านไว้แล้ว ถ้าเราเคารพนับถือครูบาอาจารย์ ก็ปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์ก็แล้วกัน การประชุมหาหัวหน้ากรรมฐานก็เลยต้องยุติ
|
แก้ไขล่าสุด ( วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2014 เวลา 02:41 น. )
|