A Free Template from Joomlashack

A Free Template from Joomlashack

แบบสำรวจ

ท่านกำลังใช้ระบบปฏิบัติการ (OS) อะไรอยู่ ?
 

Search

ผู้เข้าเว็บขณะนี้

เรามี 42 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

JComments Latest

  • https://twor.microsoftcrmportals.com/forums/suppor...
  • canadian pharmacies online pharmacy no prescriptio...
  • Thanks for finally writing about >dark markets
  • айваско купить в спб
  • черенки эктогенов купить
หลักการบริหารจัดการของพระกรรมฐาน PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2014 เวลา 07:21 น.

 
 หลวงพ่อพุธ  ฐานิโย
 
 
 
 

          สมัยหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ ยังอยู่นี่  พระใน สายพระธุดงคกรรมฐานขึ้นกับการปกครอง ๒ ฝ่าย  ฝ่ายนิติกรรม หมายถึงฝ่ายกฎหมาย ขึ้นกับฝ่ายปกครอง ผู้บริหาร เจ้าคณะต่างๆ แต่ในสายครูบาอาจารย์นี่ ขึ้นอยู่กับหัวหน้าใหญ่ของคณะกรรมฐาน ตอนหลวงปู่เสาร์ยังอยู่ หลวงปู่เสาร์เป็นหัวหน้า  หลวงปู่มั่นยังอยู่ หลวงปู่มั่นเป็นหัวหน้า  พอหลวงปู่มั่นล่วงลับไปแล้ว หลวงปู่สิงห์เป็นหัวหน้า 
 

ถึงปีมาที่วัดป่าสาลวัน จะต้องมีการประชุมคณะลูกศิษย์กรรมฐาน วัด สำนักกรรมฐาน ที่มีอยู่ในภาคอีสาน  วัดไหนมีพระสงฆ์ไม่ครบ ท่านจะแจก แบ่งพระในวันนั้น  ดูเหมือนท่านจะถือเอาวันวิสาขบูชาเป็นวันประชุมใหญ่  สำนักนั้นมีพระกี่องค์ๆ   ผู้ที่อยู่จะต้องรายงานมา จะต้องจัดพระให้ไปจำพรรษาครบ ๕ องค์ที่เป็นองค์รับกฐินได้ 
 
 
 
สมัยนั้น ครูบาอาจารย์พูดคำเดียวแล้ว แล้วเลย ไม่มีใครคัดค้าน  องค์นี้ไปอยู่นั่น องค์นั้นไปอยู่นั่น  บางทีเดินธุดงค์ไป ไปพักอยู่ที่ตรงนี้ พอตื่นเช้ามา หลวงปู่มั่นท่านชี้ ท่านนี่ ญาติพี่น้องท่าน อยู่แถวๆ นี้เยอะ ให้อยู่ที่นี่โปรดญาติพี่น้องก่อน  ทั้งๆ ที่เรายังไม่มีวัดเลยนะ  ครูบาอาจารย์ท่านสั่งอย่างนั้นก็ต้องอยู่ คือแต่ละท้องถิ่นนี่ ท่านองค์ใดเหมาะสมจะอยู่ที่ท้องถิ่นไหน คือท่านพิจารณาดูแล้วว่า พระองค์นี้เป็นเครือญาติของประชาชนในแถบนี้  ท่านก็ให้อยู่  อยู่เพื่ออบรมสั่งสอนเขาเหล่านั้น  แล้วก็ได้ผลดีทุกแห่ง 
 
 
เมื่อก่อนที่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ยังไม่ออกเผยแผ่  วัดธรรมยุตในภาคอีสานมีไม่ถึงร้อยวัด  ผลงานที่กระจายวัดได้มากมาย นี่ เป็นผลงานของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่สิงห์ 
 
 
 
หลวงปู่สิงห์ทีแรกปักหลักอยู่ที่วัดวิเวกธรรมซึ่งชาวบ้านเรียกว่าวัดเหล่างา อยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลประจำจังหวัดขอนแก่น ภายหลัง พ.ต.อ. หลวงชาญนิคม บริจาคที่ตรงนี้ถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน)  สมเด็จฯ ท่านก็บัญชาให้ท่านอาจารย์สิงห์ มาสร้างวัดนี้ ท่านอาจารย์สิงห์เป็นสัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จองค์นี้  เวลาท่านอุปสมบท สมเด็จฯ เป็นอุปัชฌาย์ท่าน ท่าน ก็มาสร้างวัดนี้ (วัดป่าสาลวัน) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕  เป็นปีสมัย เปลี่ยนแปลงการปกครอง 
 
 
พอมาปักหลักได้ตรงนี้ ก็กระจายไปที่ชัยภูมิ  ที่โคราชก็ไปที่จักราช ท่าช้าง ปักธงชัย  อาจารย์กงมาไปปักหลักที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว แล้วก็กระจายไปรอบๆ  ส่วนใหญ่วัดธรรมยุตนี่ไปขยายอยู่ที่อุดรฯ ขอนแก่น สกลนคร มากมายที่สุด  ที่อุบลฯ ก็ได้ไม่กี่วัด 
 
ตอนตั้งวัดนี้ ทีแรกน้ำท่าก็ไม่มี ต้องไปตักน้ำ โน้น ที่ประมง หนองจะบก  เอาลวดมาผูกปี๊บ คานหามหนึ่งมี ๘ ปี๊บ  ผู้ที่ยกเว้น ไม่ต้องไปหามน้ำมีหลวงปู่สิงห์กับอาจารย์มหาปิ่น อาจารย์มหาปิ่น สุขภาพท่านไม่ค่อยแข็งแรง ท่านเป็นวัณโรค นอกนั้นพระเถระน้อยใหญ่ทั้งหลายนี่ไปหามน้ำกันทั้งนั้น ไม่มียกเว้น 
 
อาจารย์อ่อนนี่เป็นตัวตลก เณรใหญ่หามเดินนำหน้าท่าน เดินข้ามทางรางรถไฟนี่มา เณรเดินช้า หลวงปู่อ่อนก็ร้องเอะอะโวยวายขึ้นมา เดินไวๆ กูฮ้อน (ร้อน) หัวล้านกู!  หลวงปู่อ่อนเป็นพระ ตลก 
 
 
เมื่อก่อนกุฏิก็มีไม่มากเหมือนอย่างทุกวันนี้  พระ ๕๐-๖๐ ไม่คับวัด  แต่มาเดี๋ยวนี้มีพระไม่กี่องค์ วัดป่าคับแคบไปหมด  สมัยก่อน มีแต่พระน้อยๆ  ถึงจะใหญ่แค่ไหนก็เหลือองค์น้อยๆ  ทำไมถึงว่าอย่างนั้น  ทิฏฐิมานะการถือตนถือตัวของท่านไม่มี  ในเมื่อลดทิฏฐิ มานะ มันก็เหลือน้อยนิดเดียว ตัวมันไม่ฟูขึ้น  มาปัจจุบันนี่ มีแต่ทิฏฐิ มานะ  ใครจองที่อยู่ที่ตรงไหน แม้แต่เวลาหนีไปก็ปิดกุญแจเอาไว้ คนอื่นมาแตะต้องไม่ได้  อันนี้เขาเรียกว่ามันโตคับวัด

 
 

 



 

 

 

 
แก้ไขล่าสุด ( วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2014 เวลา 07:33 น. )
 

เพิ่มคอมเมนต์ใหม่

รหัสป้องกันความปลอดภัย
รีเฟรช

 

Joomla 1.5 Templates by Joomlashack